วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ

10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยว
ประเทศอังกฤษ

10. Hadrian’s Wall
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ Hadrian's Wall
กำแพงเฮเดรียน (Hadrian’s Wall) สร้างขึ้นโดยชาวโรมัน จุดประสงค์เพื่อปกป้องอาณานิคมจากการรุกรานของชนเผ่าสก็อตแลนด์ มีความยาว 117 เมตร พาดขวางแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษ ตั้งแต่ทะเลไอริชจนถึงทะเลเหนือ กำแพงเฮเดรียน เริ่มสร้างในรัชสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียนในปี ค.ศ. 122 เสร็จสมบูรณ์ภายในเวลา 6 ปี ปัจจุบัน มีเพียงกำแพงส่วนกลางที่ยังคงปรากฏให้เห็น สามารถเดินได้ตลอดแนวกำแพง ด้วยความเก่าแก่และสวยงาม กำแพงเฮเดรียน จึงเป็นหนึ่งใน สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และจดทะเบียนเป็น มรดกโลก ในปี ค.ศ. 1987
                                                     
                                                9. Warwick Castle   

   

สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ Warwick Castle
ปราสาทวอริค โครงสร้างเดิมเป็นไม้ สร้างโดย สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ใน ปีค.ศ. 1068 และได้รับการบูรณะใหม่ โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นหินในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ช่วงสงครามร้อยปี ด้านหน้าของ ปราสาทวอริค ที่หันตรงข้ามกับเมือง ก็ได้รับการเสริมสร้างให้แข็งแรงขึ้น ทำให้ ปราสาทวอริค กลายเป็นที่จดจำว่าเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางการทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อปี ค.ศ. 2001 ปราสาทวอริค ถูกขนานนามว่าเป็น 1 ใน 10 ของอนุสรณ์สถานแห่งประวัติศาสตร์ชาติ และเป็นหนึ่งใน สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุด
8. Lake District
 เที่ยวประเทศอังกฤษ

อีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ Lake District อุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ในมณฑลคัมเบรีย จุดดึงดูดใจอยู่ที่ทะเลสาบและเทือกเขา ซึ่งเกิดจากการระบิดของธารน้ำแข็งในยุคสมัยก่อน เกิดเป็นภาพน้ำ ภาพเขา สวยจับใจ จนทุกวันนี้ Lake District เป็นอีกหนึ่งจุดหมายชื่อดังสำหรับนักปีนเขา ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเยือน ราว 14 ล้านคน

7. Tower of London
หอคอยแห่งลอนดอน สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการ สร้างขึ้นโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เพื่อป้องกันการโจมตีของชาวเมืองที่ต่อต้านชาวนอร์มัน ต่อมา หอคอยแห่งลอนดอน  ถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษที่มียศศักดิ์สูง ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1100 จนถึง กลางศตวรรษที่ 20 และที่แห่งนี้ถูกโจษจันว่าเป็นหนึ่งในสถานที่สุดหลอน
6. The Cotswolds
คอทส์โวลส์ แนวเนินเขาละมุนน่าสัมผัส เมืองที่มีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่ชวนหลงใหลที่สุด หนึ่งใน สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ จุดที่สูงที่สุดจากระดับน้ำทะเล คือ ระยะ 330 เมตร สถานที่ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว ได้แก่ หมู่บ้านที่สร้างจากหินสีน้ำผึ้ง ย่านเมืองเก่าแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอังกฤษ
5. Durham Cathedral
มหาวิหารเดอรัม คริสตจักรมหาวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม ตั้งอยู่ที่ เมืองเดอรัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ  เป็นตึกนอร์มันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอังกฤษ โครงสร้างของ มหาวิหารเดอรัม เป็นหิน ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1093 ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น ภายหลังได้รับการบูรณะและเพิ่มเติมบางส่วน แต่โดยรวมแล้ว มหาวิหารเดอรัม ก็ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมแบบนอร์มัน ในปี ค.ศ. 2011 สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ แห่งนี้ ได้รับการโหวตจากโพลของสำนักข่าว BBC ให้เป็น สิ่งก่อสร้างที่น่าหลงใหลมากที่สุดในเกาะอังกฤษ องค์การยูเนสโกยกให้ มหาวิหารเดอรัม เป็น มรดกโลก พร้อมกับ ปราสาทเดอรัม ซึ่งอยู่ตรงกันข้าม ริมแม่น้ำเวียร์
4. York Minster
มหาวิหารยอร์ก เป็นคริสต์ศาสนสถานแบบกอธิค ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตอนเหนือ (รองจากมหาวิหารโคโลญ ประเทศเยอรมนี) มหาวิหารยอร์ก เริ่มสร้างใน ปี ค.ศ. 1230 และเสร็จสมบูรณ์ใน ปี ค.ศ. 1472 เป็นสิ่งก่อสร้างที่รวมลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคไว้ทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำ คือ หน้าต่างบานใหญ่ ชื่อ “Great East Window” สร้างใน ปี ค.ศ. 1408 ถือเป็นหน้าต่างประดับกระจกสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3. Windsor Castle
สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ ที่คุ้นชื่อกันดี พระราชวังวินด์เซอร์ เป็นหนึ่งในที่ประทับของ Queen Elizabeth ที่สอง ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และถือเป็นพระราชฐานที่ยังมีผู้อยู่อาศัยที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก พระมหากษัตริย์และกษัตรีย์แห่งอังกฤษเกือบทุกพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างและพัฒนา พระราชวังวินด์เซอร์ จากประวัติตามรัชสมัยต่างๆ ในยามสงบจากศึก พระราชวังวินด์เซอร์ ถูกใช้เป็นที่ประทับของกษัตริย์ ในยามสงคราม พระราชวังวินด์เซอร์ จะถูกใช้เป็นป้อมปราการด้วยการสร้างเสริมอย่างแน่นหนา และระบบนี้ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
2. Big Ben
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือรู้จักกันดีในชื่อของ บิ๊กเบน หอเก่าแก่นี้ถูกสร้าง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 หลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม แท้จริงแล้ว บิ๊กเบน ไม่ใช่ชื่อหอนาฬิกา แต่เป็นชื่อของ ระฆังหนัก 13 ตัน ซึ่งแขวนอยู่ตรงช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา และคำว่า บิ๊กเบน นั้นนำมาจากชื่อของ เซอร์ Benjamin Hall ชายคนแรกที่สั่งซื้อระฆัง Big Ben มีความสูง 96.3 เมตร เป็นหอนาฬิกาที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก และกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอังกฤษ ทั้งยังปรากฏในภาพยนตร์หลายเรื่อง
1. Stonehenge
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ Stonehenge
สุดยอด สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอังกฤษ ต้องยกให้ สโตนเฮนจ์ กลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ บนที่ราบ Salisbury บริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ที่มาของ สโตนเฮนจ์ ยังไม่มีบทสรุปที่แท้จริง มีเพียงข้อสันนิษฐานมากมาย นักโบราณคดีเชื่อว่า กองหินนี้ถูกสร้างขึ้นจากที่ไหนสักแห่ง เมื่อประมาณ 3000 – 2000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยการคำนวณอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าแท่งหินยักษ์ทั้งหมดถูกชักลากมาจากที่อื่น เนื่องจากที่ราบบริเวณนั้นไม่มีหิน ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจาก “ทุ่งมาร์ลโบโร” ที่อยู่ห่างออกไป 40 กิโลเมตร แต่ก็มีความเชื่อไปในทางเดียวกันว่า สโตนเฮนจ์ น่าจะถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของคนในยุคโบราณ ด้วยความอัศจรรย์และความลึกลับที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัด สโตนเฮนจ์ จึงถูกยกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

อนุสัญญา CITES




Image result for อนุสัญญาไซเตส (cites)

    อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์    (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and    Flora-CITES) หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่าไซเตส เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมไม่ให้การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ เป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๑๘ ตลอดระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไซเตสนับเป็นอนุสัญญาด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่านานาชาติที่ถูกพูดถึง และมีประสิทธิภาพมากที่สุดฉบับหนึ่ง โดยมีการให้ความคุ้มครองแก่สัตว์และพืชแล้วกว่า ๓ หมื่นชนิด ตั้งแต่เสือโคร่ง ช้างป่า ไปจนถึงไม้มะฮอกกานีและกล้วยไม้ ด้วยการกำหนดรายชื่อสัตว์และพืชเหล่านี้ในบัญชีของไซเตส
กลไกสำคัญของอนุสัญญาไซเตสคือการกำหนดให้ประเทศภาคีจะต้องมีมาตรการภายในที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ โดยจะต้องมีการควบคุมการนำเข้า ส่งออก หรือส่งผ่านตัวอย่างชนิดพันธุ์ที่ระบุไว้ในบัญชีของไซเตส และมีบทลงโทษผู้กระทำการฝ่าฝืน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาไซเตส และเข้าเป็นภาคีสมาชิกลำดับที่ ๗๘ เมื่อปี ๒๕๒๖ ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีภาคีสมาชิกกว่า ๑๖๐ ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศลาวเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๑๖๕ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ส่งผลให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้เข้าร่วมเป็นภาคีต่ออนุสัญญาฉบับนี้อย่างสมบูรณ์
การประชุมอนุสัญญาไซเตส CoP-13 ที่กรุงเทพฯ มีความหมายอย่างไร การประชุมประเทศภาคีของอนุสัญญาไซเตส (Conference of the Parties) จะจัดให้มีขึ้นทุก ๒ หรือ ๓ ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้มีโอกาสประชุมเพื่อพิจารณาเนื้อหาสาระ และเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในอนุสัญญาตามรายละเอียดที่มีผู้เสนอขอให้พิจารณา ประเทศสมาชิกมีสิทธิ์ออกเสียงได้เท่าเทียมกัน โดยข้อเสนอที่จะได้รับการยอมรับให้มีการแก้ไขจะต้องได้เสียงรับรองไม่น้อยกว่าสองในสาม นอกจากภาคีสมาชิกกว่า ๑๖๐ ประเทศจะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมแล้ว ที่ประชุมยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมและเสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
การประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสครั้งที่ ๑๓ (CoP-13) จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติครั้งใหญ่เกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านการอนุรักษ์ฉบับนี้ เป็นที่แน่นอนว่าในช่วงเวลาดังกล่าว วงการอนุรักษ์ธรรมชาติทั่วโลกจะพุ่งความสนใจมาที่สถานการณ์การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในภูมิภาคนี้เป็นพิเศษ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและเพื่อนบ้านในภูมิภาค ที่จะได้แสดงออกถึงความตั้งใจในการแก้วิกฤตปัญหาการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
หัวข้อซึ่งเป็นที่สนใจของวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วโลกเป็นพิเศษในครั้งนี้คือ การพิจารณาห้ามไม่ให้มีการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศบางชนิดอย่างเด็ดขาดเช่น โลมาอิรวดี (นำเสนอโดยประเทศไทย) ฉลามขาว (นำเสนอโดยมาดากัสการ์และออสเตรเลีย) นกกระตั้วหงอนเหลือง (Sulphur-crested Cockatoo นำเสนอโดยอินโดนีเซีย) นกแก้วแอมะซอนท้ายทอยม่วง (Lilac-crowned Amazon Parrot นำเสนอโดยเม็กซิโก) สิงโตแอฟริกา (นำเสนอโดยเคนยา) และการควบคุมการค้าปลานกแก้วหัวโหนก (นำเสนอโดยฟิจิ ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา) รวมไปถึงการพิจารณาเรื่องการควบคุมตลาดค้างาช้างภายในประเทศ และการอนุรักษ์กวางไซกา

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาโตเกียว

สนธิสัญญาโตเกียว
ต้นเหตุเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่2 เกิดจากในยุโรป ณ ขณะนั้น เริ่มมีกลิ่นอายของสงคราม โดยฝรั่งเศส เห็นความเคลื่อนไหว ของทางฝั่งเยอรมันนี ศัตรูตัวเอกของตน ที่กำลังซ่องสุมกำลังพล เพื่อแก้แค้นจากการที่ถูกฝรั่งเศส และชาติพันธมิตรของฝรั่งเศสกดขี่ข่มเหงด้านต่างๆ ทั้งด้านการทหาร ทรัพยากร เศรษฐกิจ และค่าปรับจากปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จากการฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ทำให้เกิดภาวะเงินที่เฟ้อสูงมาก เงินค่าเงินมาร์คแทบจะไร้ค่า ผู้คนเยอรมันพากันอดยาก ยากแค้น เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งมีนายอด๊าฟ อิตเลอร์ ชาวออสเตรีย สัญชาติเยอรมัน ผู้นำแห่งพรรคนาซี เข้ามาเป็นความหวังใหม่ขึ้นมา เขาผู้นี้นำพรรคนาซีก้าวขึ้นเป็นรัฐบาล สร้างโครงการขนาดใหญ่ ทั้งถนน หนทางทางรถไฟ สถานที่ราชการ สนามกีฬาเพื่อจัดกีฬาโอลิมปิก รถยนต์ของประชาชน นามโฟร์ก สวาเกนซ์ โดยยึดแนวคิดสังคมนิยม และการกำหนดนโยบายให้รัฐตัวจักรสำคัญเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างชาติรัฐขึ้นมาใหม่ และในขณะเดียวกันก็ได้ทำการแอบซ่องสุมฝึกฝนคนของตน ให้เข้มแข็ง มีระเบียบวินัย เพื่อใช้ทางการทหารแอบแฝง แม้เมื่อเกิดสงครามก็แปรเปลี่ยนโรงงานอุตสหกรรมหนักต่างๆให้เป็นโรงงานผลิตอาวุธได้ทันที และสร้างเรื่องความรักชาติ ภูมิใจในความฉลาดของชาวอารยันเหนือชนชาติอื่นๆ ผ่านการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
เมื่อฝรั่งเศสได้เห็นกลิ่นอายของสงคราม ใกล้เข้ามาหาตน และกลัวตนจะเปิดศึกหลายด้าน ถ้ากรณีเกิดสงครามขึ้นกับเยอรมันนีเข้าจริงๆ ก็จึงส่งคณะฑูตเข้ามาขอเจรจากับรัฐบาลของสยามในสมัยนั้น ขอทำสนธิสัญญาสันธวไมตรีต่อกัน ว่าชาติรัฐทั้งสองจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันและจะไม่รุกรานต่อกัน ซึ่งรัฐบาลสมัยของจอมพลปอ พิบูรญ์สงครามก็ได้ทำข้อตกลง แต่ก็อดแปลกใจมิได้ ว่าอยู่ๆทำไมฝรั่งเศสจึงขอมาทำข้อตกลงฉบับนี้กับตน
พอประเทศเยอรมันเริ่มบุกประเทศโปรแลนด์ เป็นชาติแรก เหตุผลอันหนึ่งคือโปรแลนด์ มีขนาดกองทัพที่เล็กกว่ามาก แต่มีทรัพยากร จำพวกถ่านหิน และเชื้อเพลิงอีกทั้งเสบียง จำนวนมาก เพื่อเอาไว้ใช้หล่อเลี้ยงกองทัพของตน ในเวลาเริ่มต้นสงครามและขยายพื้นที่การสู้รบ อีกทั้งได้ใช้แรงงานทาสจากเชลย ทั้งจากชาวสลาฟ ยิวและพวกยิปซี ในโรงงานผลิตอาวุธของตนอีกจำนวนมาก
เมื่อทางฝั่งสยามในสมัยจอมพลปอเห็นเป็นเหตุอันดี และเป็นการแก้แค้น จึงฉีกสัญญาฉบับนั้นทิ้ง โดยที่อีกทั้งฝ่ายสยามยังได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ จากการสั่งซื้อจากญี่ปุ่น และความช่วยเหลือฝึกอบรมด้านการรบจากกองทัพญี่ปุ่น ทั้งฝรั่งเศสก็มัวแต่ภวักภวงด้านการเตรียมการรบกับกองทัพนาซีของเยอรมัน และเรียกกำลังหนุนเสริมจากกองทหารของตนที่ประจำจากที่ต่างๆในอาณานิคม เพื่อมาเสริมทัพในประเทศแม่ ทั้งจากในแอฟริกาเหนือ เช่น ตูนิเซีย ตะวันออกกลาง เช่นเลบานอน และ ในเอเซียอาคเนย์ เช่นที่อินโดจีนของฝรั่งเศส คือ ญวณ กัมพูเจียร์ และ ลาว เรียกกำลังหลักกับไปรับมือเป็นจำนวนมาก ทิ้งกำลังที่เหลือไว้เพียงแค่บางส่วน ดังนั้นรัฐบาลสยามสมัยจอมพลปอ เป็นนายก จึงถือโอกาสอันดีนี้ ทำการประลองกำลังรบกับ จักรวรรดิ์นิยมฝรั่งเศสในอินโดจีน โดยทางฝ่ายสยาม ได้จัดส่งกองกำลังทั้งทางภาคพื้นดิน เช่นหน่วยปืนใหญ่ กำลังทหารราบ และกำลังทางอากาศ เช่นฝูงบินรบ เข้าโจมตี กองกำลังของฝรั่งเศส ที่ประจำอยู่ทั้งในแขวงจำปาสัก เช่นเมืองศรีโสภณ เมืองปากเซ ,แขวงไชยบุรี ในเขตลาว เปลี่ยนเป็นจังหวัดล้านช้าง ในเวลาต่อมา รวมทั้งเข้าตี จังหวัดเสียมเรียบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ เสียมรัฐ และจังหวัดพระตะบอง ในกัมพูเจียร์(จ.พิบูญสงคราม โดยคณะรมต.เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านผู้นำ) ถือเป็นชัยชนะของทางฝ่ายไทยอย่างงดงามเหนือจักวรรดิ์นิยมฝรั่งเศส
ในส่วนฝรั่งเศสก็ได้ส่งกองเรือรบ ที่ตนถนัด ออกจากท่าเรือที่เมืองไซ่ง่อน(โฮจิมินต์ในปัจจุบัน) มารบในยุทธนาวีที่เกาะช้าง และจมเรือรบของฝ่ายสยาม ก่อนล่าถอยหนีกลับ เพราะเกรงกลัวเรือดำนำ้ที่ต่อมาจากญี่ปุ่น 3ลำ (ยี่ห้อมิตซูบิชิ )และฝูงบินรบที่อยู่บริเวณนั้น
ในส่วนทางฝ่ายสยามสามารถจับเชลยศีึกทหารชาวฝรั่งเศสได้เป็นจำนวนมาก และนำเชลยศึกเหล่านั่นขึ้นโบกี้รถไฟเข้ามาที่พระนคร เหตุการณ์ครั้งนี้ เรียกว่าสงครามสยาม-ฝรั่งเศส หรือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 3
จนสุดท้ายรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งในขณะนั้น ได้เป็นชาติมหาอำนาจแล้ว กำลังจะโชว์ฟลาวเวอร์ของจักวรรดิ์ใหม่ของตน ขอเข้ามาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่าย โดยนำผู้แทนฝ่ายไทย และฝ่ายฝรั่งเศส ต่างเกรงอกเกรงใจ และมาเจรจาทำข้อตกลงสัญญากันบนเรือรบหลวงโตเกียว ที่น่านนำ้เขตเวียดนาม ใกล้เมืองไซ้ง่อน จึงเรียกกันว่าสนธิสัญญาโตเกียว อันมีเนื้อหาพอสรุปสั้นๆว่าฝรั่งเศสยอมรับเขตแดนใหม่ที่ฝ่ายสยามเข้ายึดครอง โดยดุษฏี แต่ทางฝ่ายสยามต้องปล่อยตัวเชลยศึก โดยปราศจากข้อแม้ และจะต้องไม่คิดขยายดินแดนเพิ่มเข้ามาในอาณานิคมของฝรั่งเศสเพิ่มไปจากนี้อีก และเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง อีกทั้งทั้งสองฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นข้อตกลงที่ยุติธรรมแล้ว
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ที่สอง สิ้นสุดลง เมื่อญี่ปุ่น แพ้สงครามต่อสหรัฐอเมริกา โดยโดนทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และนายาซากิ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่แถบสองของญี่ปุ่น รองจากกรุงโตเกียว เสียชีวิตผู้คนเกือบสองแสน โดยเจ้าอ้วน Fatman และเจ้าเด็กน้อยนามLittle boy จนญี่ปุ่นยอมประกาศแพ้สงคราม ณ เรือรบหลวงมิซซูรี่ ใกล้กับอ่าวโตเกียว โดยสมเด็จพระจักพรรดิ์แห่งญี่ปุ่น ต่อตัวแทนฝ่ายสหรัฐที่นำโดยนายพลแม็กอาเธอร์
หลังจากนั้นรัฐบาลฝ่ายไทยจึงประกาศยอมแพ้สงคราม(ญี่ปุ่นนับถือเราตรงนี้ ที่ยอมแพ้กับตนเป็นคนสุดท้าย ไม่เหมือนกรณีรัสเซีย ที่ถีบหัวเรือส่ง แล้วไปยึดหมู่เกาะแซคคารินของตน) ต่อฝ่ายพันธมิตร
โดยอังกฤษยังแค้นไทย ที่เข้าไปยึดรัฐฉานในเขตพม่าของตน จนถึงเมืองเชียงตุง แล้วตั้งเป็นจังหวัดสหรัฐไทยใหม่ขึ้น อังกฤษจึงคิดที่จะเอาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นรัฐอารักขาของตน เพื่อที่อาจจะไปรวมกับ สมาพันธ์รัฐมาลายาของตนต่อไป แต่ถูกสหรัฐที่เป็นมหาอำนาจขอร้องคัดค้านเอาไว้ เพราะมองว่าฝ่ายไทย(จอมพลปอ เปลี่ยนชื่ิอประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย)ถูกญี่ปุ่นบีบบังคับ เพราะในขณะนั้นรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากสหรัฐเอาไว้แล้ว กรณีที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาบุกรุก แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้เข้ามาช่วย เพียงแต่บอกให้ทางฝ่ายไทยพึ่งตนเองไปพรางก่อน อีกทั้งยังมีขบวนการเสรีไทย เข้ามาช่วยปลดแอกและต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่นในเวลานั้น รวมทั้งเป็นการปรามอังกฤษไปในตัว จนอังกฤษเรียกค่าปฎิกรรมสงครามเป็นข้าวสารจำนวนหนึ่งล้านตันแทน และทยอยส่งมอบเป็นงวดๆ เพื่อที่จะให้ไทยไม่เป็นประเทศผู้แพ้สงคราม จนต้องถูกเรียกค่าปรับมหาศาล
ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ได้ส่งผู้แทนมาทำการเจรจากับทางฝ่ายสยาม โดยตั้งขัอเรียกร้องถึงสองข้อ(การเจรจาต่อรองโดยหลักฝ่ายที่ได้เปรียบต้องตั้งข้อเรียกร้องไว้สูงก่อนเสมอ เพื่อให้อีกฝ่ายต่อได้น้อยที่สุด)กล่าวคือ ข้อแรก ขอพระแก้วมรกตพระคู่บ้านคู่เมืองอันเชิญกลับกรุงเวียงจันทร์ให้กับลาว และข้อสองขอดินแดนที่เสียให้กับทางฝ่ายไทย สมัยสงครามสยาม-ฝรั่งเศสกับคืนทั้งหมด ซึ้งผู้แทนฝ่ายไทยให้ได้ข้อที่สองเท่านั้น จึงลุกเดินออกจากที่ประชุม สุดท้ายเมื่อเจรจากันรอบหลัง ฝรั่งเศสจึงยอมตามข้อตกลงของทางฝั่งไทย

สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229), ระหว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส 
เพื่อยุติสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259), ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ,
เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดี
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303), ระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323), หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์สสละการอ้างสิทธิในเซแลนด์
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355), การแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสกับซาวอย
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623), ระหว่าง ฝรั่งเศส, ซาวอย และ เวนิส เพื่อทำการฟื้นฟูดินแดนวาลเทลลินา 
โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657), ระหว่าง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เพื่อการเป็นพันธมิตรในการต่อต้านสเปน
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763), ระหว่าง ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส และ สเปนกับโปรตุเกส เพื่อยุติสงครามเจ็ดปี
สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1783) ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส, สเปน,
สาธารณรัฐดัตช์ และ สหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783), ระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เพื่อยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1784) เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่ 4
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1796), เพื่อยุติสงครามระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรพีดมอนท์-ซาร์ดิเนีย
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1810), ระหว่างฝรั่งเศสและสวีเดน เพื่อการยุติสงครามฟินแลนด์
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814) หรือ สนธิสัญญาฟงแตงโบล (ค.ศ. 1814), ระหว่าง: จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และ 
ฝ่ายมหาสัมพันธมิตร เพื่อยุติอำนาจการปกครองของนโปเลียนและส่งพระองค์ไปประทับที่เกาะเอลบา
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814), ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1814ระหว่าง: ฝรั่งเศสและพันธมิตรใน
สงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6 เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1815), ลงนามหลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนที่วอเตอร์ลู
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1856), รัสเซียและพันธมิตรของจักรวรรดิออตโตมัน, ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย, ฝรั่งเศส และ 
สหราชอาณาจักร เพื่อยุติสงครามไครเมีย
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1857), เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-เปอร์เซีย
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1898), เพื่อยุติสงครามสเปน-อเมริกา
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1900), ระหว่าง จักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดิฝรั่งเศส เพื่อยุติข้อพิพาทในสิทธิริโอ มูนิ
 (อิเควทอเรียลกินี)
การประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919), เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1920), ฝ่ายมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และ ญี่ปุ่น) และโรมาเนีย 
เพื่อรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย
สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1947) เพื่อการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1951), เพื่อก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปที่เป็นพื้นฐานของ
การก่อตั้งสหภาพยุโรปต่อมา
ข้อตกลงสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1973), เพื่อยุติความเกี่ยวข้องของสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม
ที่มา:https://th.wikipedia.org/

Cop24

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปาร์ค กูเอล

"ปาร์ค กูเอล" 

หากเอ่ยถึงประเทศสเปน (Spain) หรือ ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain) แน่นอนว่าเราต้องนึกถึง กีฬาสู้วัวกระทิง (bullfighting) กีฬาที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของ สเปน นอกจากนี้แล้วประเทศสเปนยังเป็นจุดหมายปลายทางที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากเป็นอันดับต้นๆของโลกอีกด้วย 

      "ปาร์ค กูเอล" หรือ "สวนสาธารณะปาร์ค กูเอล"(Park Guell) คือ สวนสาธารณะที่เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของสถาปนิกอันตอนี เกาดี อี กูร์เนต (Antoni Gaudi i Cornet) หรือที่รู้จักกันใน นาม เกาดี สถาปนิกชาวคาตาลัน ประเทศสเปน ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวในแบบโมเดิร์นนิสโม (อาร์ตนูโว) และมีชื่อเสียงเรื่องงานออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัว เองอย่างสูง ตัวอย่างเช่น ซากราดาฟามีเลีย 

      ปาร์ค กูเอล คือ สวนสาธารณะที่เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเหมือนสวนสาธารณะ เนื่องจากภายในสวนนั้นถูกตกแต่งไปด้วยงานปฎิมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมที่ประดับตกแต่งลวดลายด้วย เครื่องกระเบื้องโมเสกนับล้านชิ้น ขอแนะนำว่าต้องไม่พลาดไปชม "มังกรโมเสก" (Mosaic dragon) ที่ไต่คลานบนบันไดน้ำพุ อันเป็นขวัญใจของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอีกด้วย 

      นอกจากนี้แล้ว ปาร์ค กูเอล คือ สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นให้ผสมผสานไปกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน โดยเฉพาะตึกอาคารรูปทรงแปลกๆที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และมีอิทธิพลต่อ เมืองบาร์เซโลนามากว่า100 ปี โดยสวนตั้งอยู่บนเนินเขาเอล คาร์เมล (El Carmel) อยู่ใกล้ๆกับเมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) 

      ปัจจุบันปาร์ค กูเอล เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2005 ที่ โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี 1900 - 1914 โดยในช่วงแรกๆนั้นสวนยังคงเป็นส่วนบุคคล แต่ต่อมาในปี 1922 จึงกลายมาเป็นที่สาธารณะ และได้กลายมาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีวคามสำคัญมากแห่งหนึ่งของเมืองบาร์เซโลนา 



ที่มา: https://travel.thaiza.com/foreign

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร ทั้งแบบสากลและแบบไทยแท้ ๆ มีอะไรที่เราควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม มาดูกันเลย ...