โครงงาน เรื่องอาหารไทย 4 ภาค

จัดทำโดย
นางสาวกันตยา เสริมสินธ์
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา I30201 การศึกษาค้นคว้า
ภาคเรียนที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7
โรงเรียนราชินีบูรณะ
ปีการศึกษา 2561
1.ชื่อโครงงาน : อาหารไทย
2.ชื่อผู้จัดทำโครงงาน : นางสาวกันตยา
เสริมสินธ์
3.อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูเกรียงไกร ทองชื่นจิต
บทคัดย่อ
เนื่องจากในปัจจุบันนี้อาหารไทยได้รับการกล่าวขานจากทุกประเทศทั่วโลกว่าเป็นอาหารที่มีความอร่อยจึงทำให้อาหารไทยเป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจะเห็นได้จากการมีร้านอาหารไทยตามประเทศต่างๆทั่วโลก
และการที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ประเทศเพื่อรับประทานอาหารไทย
อันเป็นผลทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมากมาย
ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศเลยทีเดียว
ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน
เรื่องอาหารไทย 4 ภาค เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องอาหารไทยให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของคุณครูเกรียงไกร ทองชื่นจิต ครูผู้สอนที่ได้ให้ความรู้ คำแนะนำ ตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน
เพื่อให้การเขียนรายงานค้นคว้าอย่างอิสระฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด
ผู้ศึกษาใคร่ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
แลกเปลี่ยนความคิด และให้กำลังใจในการศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา
คณะผู้จัดทำ
บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันนี้อาหารไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
เอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นอาหารไทยที่ชัดเจนก็คือ กลิ่นฉุน
และรสชาติที่เผ็ดร้อน และที่สำคัญก็คือมีการนำ
สมุนไพรและเครื่องเทศมาเป็นส่วนผสมในการปรุง อาหารไทยในยุคปัจจุบัน
ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทาง ด้านอาหารจากนานาประเทศ
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย
ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต
จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย โครงงานนี้จึงทำขึ้นเพื่อส่งเสริมอาหารของวัฒนธรรมของแต่ละภาคพื้นที่ว่าแต่ละพื้นที่มีอาหารและวัฒนธรรมอย่างไรและมีรสชาติอาหารและวัฒนธรรมแตกต่างกันไปอาหารแต่ละพื้นที่มาแตกต่างกันและมีวัฒนธรรมการกินที่แตกต่างกัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเรื่อง
อาหารไทย 4 ภาค
2. เพื่อพัฒนาเว็บไซต์เรื่อง
อาหารไทย 4 ภาค
3. เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง
อาหารไทยให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา
4. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนโปรแกรม
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของโครงงาน
ขอบเขตการศึกษา
1. เป็นโครงงานพัฒนาเว็บไซต์เรื่องอาหารไทยโดยการใช้โปรแกรม Blogger
ในการพัฒนาเว็บไซต์
2. ขอบเขตเนื้อหา เป็นโครงงานพัฒนาเว็บไซต์ในเรื่องที่กลุ่มสนใจ โดยจัดทำเว็บไซต์ในหัวข้อเรื่องอาหารไทยโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น
4 หัวข้อ ดังนี้
2.1 อาหารไทยภาคเหนือ
2.2 อาหารไทยภาคกลาง
2.3 อาหารไทยภาคอีสาน
2.4 อาหารไทยภาคใต้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม
Blogger เรื่องอาหารไทย4ภาค
2. ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของโปรแกรมเว็บบล็อกได้ด้วยตนเอง
3. เผยแพร่ความรู้เรื่อง
อาหารไทย ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาในรูปแบบของเว็บไซต์
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการทำโครงงาน เรื่องอาหารไทย 4 ภาคนี้ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
อาหารภาคกลาง
ต้มยำกุ้ง อาหารถูกปากของคนไทยและชาวต่างชาติ
เรียกได้ว่าทั่วโลกแทบทุกคนไม่มีใครที่ไม่รู้อาหารไทยอย่าง ต้มยำกุ้ง นี้
และสูตรเมนูต้มยำกุ้งวันนี้จะเป็น ต้มยำกุ้งน้ำข้น นั่นเอง
เอาใจคอชอบอาหารที่เน้นความเข้มข้นของรสชาติใครที่ชอบทำอาหารห้ามพลาดกับเมนู
ต้มยำกุ้ง ถ้วยนี้เลยนะขอบอก และขอบอกอีกทีว่า ต้มยำกุ้งชาม นี้นับว่าแซบจี๊ดจริง
ๆ ว่าแล้วเราจะมาดูเครื่องปรุงรสต้มยำกุ้งน้ำข้นและวิธีทำและขั้นตอนการทำต้มยำกุ้งน้ำข้นกันเลยดีกว่า

🔼ส่วนผสม 🔽
+กุ้งกุลาดำตัวใหญ่ หรือกุ้งแม่น้ำ
+เห็ดฟางผ่าครึ่ง
+พริกขี้หนู
+ใบมะกรูดฉีกเอาก้านออก
+ข่าหั่นแว่น
+ตะไคร้ทุบแล้วหั่นท่อน
+ผักชี โรยหน้า
+น้ำพริกเผา 1 ช้อนชา
+มะนาว 1 ลูก
+กะทิหรือนมข้นจืด 1/2 ถ้วย
+น้ำตาล 1/2 ช้อนโต๊ะ
+น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
+เกลือ 1 หยิบมือ
+น้ำซุป
(ถ้าไม่มีเป็นซุปสำเร็จรูปกับน้ำเปล่า)
🔼ขั้นตอนการทำ 🔽
1.ก่อนอื่นต้องแกะเปลือกกุ้งผ่าเอาเส้นดำออกล้างให้สะอาด
หั่นเครื่องต้มยำ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและเห็ด ให้พร้อม
2.นำน้ำซุปไปตั้งไฟให้เดือด
ใส่เครื่องต้มยำลงไปให้หมด พอเดือดอีกครั้งก็ใสกุ้งที่เตรียมไว้ลงไปเลย
หลังจากใส่กุ้งลงไปแล้ว ให้ใส่ น้ำตาล น้ำปลา พริกขี้หนู พริกเผา
ใครชอบรสแบบไหนใส่ลงไปตามชอบ ตามด้วย เห็ดฟาง
3.ปิดเตาแล้วค่อยปรุงด้วยมะนาว(เคล็ดลับการบีบน้ำมะนาว ไม่ควรใส่มะนาวในน้ำที่กำลังเดือด
เพราะจะทำให้ มะนาวและน้ำซุปมีรสชม)
โรยเกลือนิดหน่อยเพื่อดึงรสเปรี้ยวหวานเค้มให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น
4.จัดชามเสิร์ฟ หั่นผักโรยหน้า
เพิ่มความหอม
อาหารภาคอีสาน
ส้มตำ เป็นอาหารคาวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของวัฒนธรรมชนชาติลาว
ภายหลังการยึดดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้ว
ต่อมาส้มตำได้กลายเป็นอาหารไทยอย่างหนึ่งด้วย
และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาค ตลอดจนกลายเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของไทยควบคู่กับผัดไทยและต้มยำกุ้ง
ส้มตำมีประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดไม่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าเป็นอาหารที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและประเทศลาว ซึ่งในอดีตถือเป็นแผ่นดินเดียวกัน เดิมนั้น
ส้มตำมักปรุงโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่นๆ
คือ มะเขือเทศลูกเล็ก มะเขือสีดา มะเขือเปราะ พริกสดหรือพริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลอื่นๆ (ไม่นิยมน้ำตาลทรายเด็ดขาด) น้ำปลา มะนาว
เมื่อส้มตำแพร่หลายในวัฒนธรรมชนชาติไทยสยามแล้วจึงมีการเพิ่มกุ้งแห้งถั่วลิสงคั่ว ปูดอง ปูเค็ม หรือปูสุกลงไปด้วย
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในวัฒนธรรมลาวก็คือ ปาแดก
ปาแดกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาหารประเภทส้มตำของวัฒนธรรมลาว
ซึ่งคนไทยมีอาหารคล้ายกันนี้เรียกว่าปลาร้า (ปาแดกกับปลาร้ามีสูตรแตกต่างกันคือ
ปลาแดกจะผสมรำ ส่วนปลาร้าจะผสมข้าวคั่ว)

🔼ส่วนผสม 🔽
+เส้นมะละกอสับหรือขูด 1 กำมือ
+ปูเค็มลวกสุก 1 ตัว
+ถั่วฝักยาว
(หักเป็นท่อนสั้น) 1 ฝัก
+มะเขือเทศ 1 ลูก
+กระเทียม 3 กลีบ
+พริกขี้หนู ตามชอบ
+น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนชา
+น้ำปลาร้า 1+1/2 ทัพพี
+น้ำมะนาว 1 ลูก
+น้ำปลา 1 ช้อนชา
+มะเขือเทศ 1 ลูก
+กระเทียม 3 กลีบ
+พริกขี้หนู ตามชอบ
+น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนชา
+น้ำปลาร้า 1+1/2 ทัพพี
+น้ำมะนาว 1 ลูก
+น้ำปลา 1 ช้อนชา
🔼ขั้นตอนการทำ 🔽
1. ตำกระเทียม พริกขี้หนู
และน้ำตาลปี๊บ เข้าด้วยกัน จากนั้นใส่ถั่วฝักยาวลงไปตำพอแหลก
2. หั่นมะเขือเทศลงไป ตามด้วยน้ำปลาร้า น้ำมะนาว น้ำปลา และผงชูรส ตำเบา ๆ พอเข้ากัน
3. หักปูเค็มใส่ลงไป ตำเบา ๆ ให้พอแหลกสุดท้ายใส่เส้นมะละกอสับลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จานเสิร์ฟ
2. หั่นมะเขือเทศลงไป ตามด้วยน้ำปลาร้า น้ำมะนาว น้ำปลา และผงชูรส ตำเบา ๆ พอเข้ากัน
3. หักปูเค็มใส่ลงไป ตำเบา ๆ ให้พอแหลกสุดท้ายใส่เส้นมะละกอสับลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จานเสิร์ฟ
อาหารภาคเหนือ
แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด
และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง
เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ
แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง
ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค

🔼ส่วนผสม 🔽
+เนื้อไก่ หั้นให้พอคำ 1 ตัว
+น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
+ผักตำลึง 2 ถ้วย
+มะพร้าวอ่อน ซอย 1 ถ้วย
+ผักเผ็ด 1 ถ้วย
+ใบชะอม 1 ถ้วย
+ถั่วพู ครึ่งถ้วย
+ถั่วฝักยาว ซอยหยาบ ครึ่งถ้วย
+มะเขือพวง ครึ่งถ้วย
+มะเขือกรอบ ครึ่งถ้วย
+ใบชะพลู หั่นหยาบ ครึ่งถ้วย
+ผักชีฝรั่ง หั่นหยาบ ครึ่งถ้วย
+ผักขี้หูด ครึ่งถ้วย
+เห็ดลม หั่นหยาบ 5 ช้อนโต้ะ
+น้ำซุป 3 ถ้วย
+เครื่องแกง ( พริกแห้ง 4 เม็ด ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดง 4 หัว กระเทียม 2 หัว กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ รากผักชี 1 ช้อนชา ปลาร้าสับ 2 ช้อนโต๊ะ )
1.เตรียมเครื่องแกงโดย โขลกส่วนผสมเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียดเข้ากัน
จากนั้นตั้งกระทะน้ำมันให้ร้อนนำไก่และ เครื่องแกงที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้สุกหอม
2.จากนั้นเติมน้ำซุปลงไปต้มต่อ ตามด้วยผักที่เตรียมไว้ทั้งหมด
ประกอบด้วย ผักตำลึง มะพร้าวอ่อน ผักเผ็ด ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือพวง มะเขือกรอบ
ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง ผักขี้หูด เห็ดลม
3.ชิมรสตามใจชอบ จัดใส่จาน
อาหารภาคใต้
แกงไตปลา เป็นอาหารทางภาคใต้ แกงไตปลา
เป็นอาหารที่มีรสชาติ เผ็ด จัดจ้านหรือว่าท่านที่ต้องการทานอาหารแปลก
ผมขอแนะนำแกงไตปลาครับ มีรสชาติจัดจ้านแล้วยังมีเครื่องเคียงต่างๆให้ทาน
ถือว่าได้รับวิตามินครบ
ได้รวบรวมวิธีการทำแกงไตปลารับรองว่าชอบใจแน่นอนมาลองให้ท่านดูเพื่อลองทำดูหรือท่านจะนำไปประกอบอาชีพ
อาหารตามสั่งก็ได้ไม่ว่ากัน เชื่อเหลือเกินว่าแกงไตปลา
จานนี้สำหรับท่านที่ทำแกงไตปลา มือใหม่ ย่อมอยากกลับมาทำทานอีกอย่างแน่นอน

🔼ส่วนผสม 🔽
+เนื้อปลาทูแกะ เอาก้างออก ½ ถ้วย
+ไตปลา สำเร็จรูป ¼ ถ้วย
+พริกแกงไตปลา ¼ ถ้วย
+น้ำซุป 3 ถ้วย
+ฟักทองหั่นเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ 50 กรัม
+หน่อไม้ต้มสุกหั่นเป็นชิ้นเล็ก 50 กรัม
+มะเขือเปราะ 30 กรัม
+ถั่วฝักยาว 20 กรัม
+มะเขือพวง 20 กรัม
+ข่าหั่นแว่น 10 กรัม
+ตะไคร้ทุบ 10 กรัม
+ใบมะกรูด 5 กรัม
+กะปิ 1 ช้อนชา
1.ต้มตะไคร้ ใบมะกรูด และ ข่า ใส่หม้อที่มีน้ำซุป รอให้น้ำเดือด
แล้วใส่ไตปลา
2.ปล่อยให้เดือดก่อนคนให้เข้ากัน ใส่น้ำพริกแกงไตปลา
และเนื้อปลาทูที่แกะไว้ ใส่ผักทีละอย่างและรอจนเดือด ปรุง รสด้วยกะปิ
3.รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ตะกร้าผักสด และขนมจีน
บทที่ ๓
วิธีการดำเนินงาน
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก
ด้วย Blogger เรื่องอาหารไทย 4 ภาค นี้ผู้จัดทำโครงงานตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
3.1.1
เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3.1.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อกคือ Blogger .com
3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1
คิดหัวของโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3.2.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อก
3.2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาผ่านเว็บบล็อกของตัวเอง
3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานในเว็บบล็อก เรื่อง
อาหารไทย4ภาค
3.2.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆโดยแจ้งครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของโครงงาน
3.2.7 ประเมินผลงานโดยการนำเสนอผ่านเว็บบล็อก
บทที่ ๔
ผลการดำเนินโครงงาน
การจัดทำโครงงานเรื่องอาหารไทย4ภาค นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอารูปแบบการเรียนรู้ยุคใหม่ที่ใช้สื่อสังคมหรือ social media ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ผลการดำเนินโครงงาน
ผู้จัดทำได้ริเริ่มดำเนินงานที่เสนอในบทที่3 แล้ว
แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาโดยได้นำเผยแพร่ผลงงานที่เว็บบล็อกซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ social media
ต่างๆซึ่งครูที่ปรึกษาเพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
บทที่ ๕
สรุปผลการดำเนินและข้อเสนอเเนะ
การจัดทำโครงงาน ด้วย blogger เรื่องอาหารไทย 4ภาค สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงานและข้อเสนอแนะดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1วัตถุประสงค์ของโครงงาน
5.1.1.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก (weblog) ด้วย blogger เรื่องอาหารไทย 4 ภาค
5.1.1.2 เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
5.1.1.3
เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เรื่องอาหารไทย4ภาค
5.1.1.4 เพื่อให้ผู้เรียนสามรถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก blogger ได้ด้วยตนเองและนำประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
5.1.1.5 เพื่อให้ประชาชนรู้จักความสำคัญของอาหารไทย4ภาค
5.2.2วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
5.2.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.2.2.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อกคือ www.blogger.com
5.2.3 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การจัดทำโครงงาน ด้วย blogger และเพื่อนำเอารูปแบบการเรียนรู้ยุคใหม่ที่ใช้สื่อสังคมหรือ Social
Media ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ซึ่งอำนวยไปด้วยความสะดวกสบายในการค้นคว้าโดยใช้สื่อต่างๆและนำมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้การพัฒนาเว็บบล็อก
(weblog) ด้วย blogger เรื่องอาหารไทย4ภาค
นี้ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่3
แล้วไดสมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://kanyayaa.blogspot.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ https://kanyayaa.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น