วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อาหารขึ้นชื่อของประเทศฝรั่งเศส



อาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศสทั้งคาวหวาน ที่คุณไม่ควรพลาด

อาหารฝรั่งเศสถือเป็นเมนูอาหารที่ได้รับการยกย่องว่ามีรสชาติเยี่ยม รวมถึงมีวิธีการเสิร์ฟ การรับประทานที่ปราณีต และมีความละเอียดอ่อนมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ และถ้าหากได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ประเทศฝรั่งเศส นอกจากน้ำหอมและเครื่องสำอางที่ไม่ควรพลาดซื้อกลับมาแล้ว เมนูอาหารที่เรานำมาแนะนำต่อไปนี้ ก็คู่ควรแก่การลิ้มลองเช่นกัน

โดยมีทั้งเมนูคาวหวานที่มาพร้อมความอร่อยแสนเพอร์เฟค รับรองว่าได้สัมผัสรสชาติที่น่าประทับใจไม่รู้ลืมแน่นอน

 

◊ ครัวซ็อง (Croissant)

เป็นหนึ่งในขนมขึ้นชื่อของชาวฝรั่งเศส ที่มาพร้อมความหอม กรอบ และชุ่มเนย โดยคำว่า  Croissant ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า จันทร์เสี้ยว สำหรับการทำครัวซ็องนิยมใช้แป้งพายที่ผสมยีสต์ และทำการอบด้วยใช้ไฟแรง เพื่อให้เนยทำหน้าที่ในการดันชั้นแป้งให้ฟู จากนั้นจึงค่อยๆ ลดไฟลง ปัจจุบันครัวซ็องได้กลายมาเป็นอาหารหลักในร้านอาหารฝรั่งเศส และเป็นนิยมทานเป็นอาหารเช้า

 

◊ คีช (quiche)

เป็นเมนูอาหารคาวประเภทอบที่มี ไข่, นม, และครีมเป็นส่วนผสมหลัก ถึงแม้จะจะถูกจัดให้เป็นอาหารดั่งเดิมของฝรั่งเศส แต่แท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากเยอรมณี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า Kuchen ที่หมายถึงเค้ก หลังจากนั้นฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Lothringen ซึ่ง ณ ปัจจุบันถือเป็นเมนูที่ได้รัยความนิยมอย่างมาก โดยสามารถทานได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น และจัดว่าเป็นอาหารจานหลักในงานปาร์ตี้อีกด้วย

 

◊ ราทาทุย (Ratatouille)

เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวฝรั่งเศส ซึ่งในสูตรดังเดิมจะใช้ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม เป็นส่วนผสมหลัก แต่ในปัจจุบันได้มีการใส่มะเขือลงไปด้วยนิยมเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารจานหลัก สำหรับเมนูนี้หลายคนอาจคุ้นหน้าคาตาเป็นอย่างดีจากการ์ตูนของดิสนีย์ ที่มีหนูเป็นพ่อครัว ซึ่งในเรื่องใช้ชื่อเรียกเมนูอาหารนี้ว่าแรททาทูอี

 

◊ ซูเฟล (soufflé)

เป็นเค้กชนิดเนื้อบางเบา มีความฟูนุ่มกลิ่นหอมบะมุนมาแต่ไกล นิยมเสิร์ฟเป็นของหวาน หรือช่วงเวลาอาหารว่าง โดยมีหลากหลายรสชาติให้ลิ้มลอง ทั้งซูเฟลซอสปู และซูเฟลช็อกโกแลต

 

◊ ฟัวกรา (Foie gras)

ได้รับการยกย่องว่าเป็นเมนูอาหารที่ดีที่สุดของชาวฝรั่งเศส ซึ่งใช้ตับห่าน หรือ เป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนมาเป็นส่วนผสมชั่นเยี่ยม โดยจะมีรสชาติที่แสนวิเศษ แตกต่างจากตับเป็น หรือตับห่านธรรมดาทั่วไป

 

◊ ปาเต (pâté)

อีกหนึ่งเมนูอาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส โดยทำจากเนื้อบดละเอียด พร้อมด้วยตับบดหยาบๆ โดยนิยมผสมกับไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์

 

◊ ไวน์ฝรั่งเศส (French Wine) 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ไวน์ฝรั่งเศสได้รับการยกย่องว่ามีรสชาติดีที่สุดในโลก โดยทานคู่กับอาหารแล้วได้รสชาติที่ดีเยี่มยไม่แพ้กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของไวน์ว่าควรทานคู่กับอาหารชนิดใด

 

นอกจากรสชาติแสนอร่อย ที่ทำให้อาหารฝร้ั่งเศสเป็นที่นิยม และถูกปากคนทั่วโลกแล้ว การคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดีอย่างพิถีพิถัน รวมถึงการปรุงอาหารที่ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอน ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผล ที่ทำให้อาหารฝรั่งเศสถูกจัดอันดับในเรื่องของความอร่อยที่แสนวิเศษ

 

 

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ครีมเทียม?

ครีมเทียม (อังกฤษNon-dairy creamer, coffee whitener) หรือบางครั้งที่เรียกกันจนติดปากว่า คอฟฟีเมต[1][2][3] เป็นครีมผงหรือน้ำที่ใช้ทดแทนนมหรือครีม เพื่อจะเติมรสชาติในกาแฟและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแล็กโทสและดังนั้นจึงถือกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำจากนม แม้ว่าจะมีสารเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำมาจากนม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ว่า
ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด
ครีมผง (ไม่เทียม) เริ่มมีการขายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1952 เรียกว่า พรีม ซึ่งทำมาจากครีมและน้ำตาลอบแห้ง ครีมผงนี้ละลายน้ำไม่ค่อยได้เพราะเหตุที่มีโปรตีนนม[5] หกปีต่อมาในปี ค.ศ. 1958 บริษัทคาร์เนชันได้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถละลายในน้ำร้อนได้ง่ายเพราะว่า มีการทดแทนไขมันนมด้วยไขมันพืช และลดระดับการใช้โปรตีนนมออกไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายใช้ชื่อการค้าว่า คอฟฟีเมต (อังกฤษCoffee-Mate)[5]
ตราสินค้า คาร์เนชั่น คอฟฟีเมต เริ่มต้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสินค้าเพื่อใช้ทดแทนนมสำหรับใส่ในกาแฟโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้รสชาติที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่เริ่มวางจัดจำหน่ายในปี 1961 คอฟฟีเมตได้รับความนิยมในทันทีเนื่องจากสินค้าช่วยให้กาแฟลดความขมเฝื่อน แต่กลับกลมกล่อมหอมันได้อย่างที่ผู้บริโภคชื่นชอบ จากความนิยมที่แพร่หลายเพิ่มมากขึ้น ตราสินค้าได้ปรับ เป็น เนสท์เล่ คอฟฟีเมตในปี 1985 จากการควบรวมกิจการ เพื่อใช้ตราสินค้านี้ในการจัดจำหน่ายไปทั่วโลก ในประเทศไทย โรงงานผลิต เนทส์เล่ คอฟฟีเมต เริ่มขึ้นเมื่อปี 1983 และพร้อมผลิตสินค้าออกจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 1985
ปัจจุบัน เนสท์เล่ คอฟฟีเมต มีวางจำหน่ายทั่วโลกไปกว่า 70 ประเทศ ทุกๆ 1 วินาที คนทั่วโลกจะดื่มกาแฟที่ใส่คอฟฟีเมต 1,000 แก้ว และ 88 แก้ว เกิดขึ้นในประเทศไทย

วัฒนธรรมของคนฝรั่งเศส

การกินอาหารของคนฝรั่งเศส      ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งในยุโรป  แต่วิถีกินของฝรั่งเศสมีหลายอย่างที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ ในยุโรป  จนทำให้มารยาทบนโต๊ะอาหารแบบสากล กลับใช้ไม่ได้เมื่ออยู่ในฝรั่งเศส 

ข้อควรจำในการกินแบบฝรั่งเศส

-  อย่าเอ่ยปากขอหรือใส่เครื่องปรุงเพิ่มเติมลงในจานอาหารที่คนฝรั่งเศสทำให้กินโดยเด็ดขาด!!   ยกเว้นเกลือและพริกไทย เพราะอาหารฝรั่งเศสขึ้นชื่อว่าเยี่ยมยอดของโลกหรือเปล่า   จึงไม่ต้องการให้มีการปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก   ผิดกับวิถีกินแบบไทยๆ ที่มักเติมเครื่องปรุงก่อนชิม หรือต้องมีเครื่องปรุงรสสารพัดชนิดใส่ถาดวางไว้ให้สนุกสนานกับการเติม        

-   อาหารเช้าโดยทั่วไปจะเป็นครัวซองส์ (croissants) หรือขนมปังแบบต่างๆ   ทาเนยและแยม  ส่วนเครื่องดื่มจะเป็นกาแฟใส่นมหรือชอกโกแลตร้อนๆ   และอาหารเช้าก็ไม่ใช่มื้อสำคัญที่สมาชิกในครอบครัวทุกคนจะต้องมานั่งกินด้วยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

-  อาหารกลางวัน  ก็ยังไม่ใช่อาหารหลัก  ยกเว้นสำหรับคนฝรั่งเศสในชนบท ร้านอาหารในเมืองจะเปิดช่วงกลางวันระหว่างเวลาเที่ยงถึงบ่ายสองโมงเท่านั้น  แล้วจึงจะเปิดอีกครั้งตอนมื้อเย็น  ไม่ได้เปิดขายทั้งวัน ให้กินได้ทั้งวันเหมือนในเมืองไทย

-  มื้อเย็นจะเป็นมื้อหลัก  เป็นเวลาที่สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงมาใช้เวลาอยู่ด้วยกัน  คนฝรั่งเศสอาจใช้เวลาที่โต๊ะอาหารเย็นได้นานถึง 2 ชั่วโมง!  

-  คนฝรั่งเศสถือว่าการดูทีวีระหว่างกินอาหารเย็นเป็นมารยาทที่ไม่ดี  ในขณะที่ชาวอเมริกันมีอาหารขายที่เรียกว่าทีวีดินเนอร์  ซึ่งออกแบบมาให้กินได้สะดวกขณะนั่งดูทีวี

- คนฝรั่งเศสกินอาหารแบบเรียงตามลำดับหรือคอร์ส  จบไปทีละคอร์ส  ไม่วางอาหารทุกอย่างบนโต๊ะแล้วนั่งล้อมวงกันกินเหมือนคนไทยและคนอเมริกัน   โดยทั่วไปจะมี 3 คอร์ส คือ entré,  plate principal และ cheese course หรือ dessert  ถ้าเสิร์ฟแบบเต็มยศก็เพิ่มอีกสามเป็น  6 คอร์สโดยเริ่มจาก  aperitif หรือออร์เดิร์ฟ  แล้วเป็น entré ซึ่งมักจะเป็นซุป  ตามด้วยอาหารจานหลักที่เป็นเนื้อสัตว์ ต่อด้วยสลัดแล้วตามด้วยเนยแข็งสารพัดชนิด ปิดท้ายด้วยของหวานหรือผลไม้พร้อมกับกาแฟ  ส่วนขนมปัง ไวน์ และน้ำแร่จะมีเสิร์ฟตลอดเวลาที่กินอาหาร

-  การกินแบบเรียงลำดับนี้ทำให้การกินขนมปังของคนฝรั่งเศสแตกต่างจากคนอเมริกันและอังกฤษ เพราะถ้าไม่ใช่งานหรูๆ  ขนมปังจะไม่วางไว้ให้ในจานเล็กๆ ทางซ้ายมือของเราตามธรรมเนียม  แต่วางไว้ให้บนผ้าปูโต๊ะ!  

-  นอกจากนั้น การทาเนยบนขนมปังยังถือว่าเป็นมารยาทที่ไม่ดีอีกด้วย   และแม้ว่าจะสามารถใช้มือบิขนมปังมารับประทานได้ แต่คนฝรั่งเศสที่สุภาพจะใช้ส้อมจิ้มขนมปังเช็ดทำความสะอาดจานเมื่อจบแต่ละคอร์ส   เพราะคอร์สต่างๆ มักจะเสิร์ฟในจานเดียว  ยกเว้นในงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการจึงจะแยกจาน 

- คนฝรั่งเศสใช้มีดและส้อมในการกินอาหารเกือบทุกอย่าง  ไม่เว้นแม้กระทั่งเฟรนช์ฟรายส์โดยถือมีดด้วยมือขวา และมือซ้ายถือส้อม ไม่มีการเปลี่ยนมือไปมาเหมือนคนอเมริกัน

-  มารยาทอีกอย่างที่ฉันเห็นว่าไม่เหมือนใครคือ การวางมือบนโต๊ะอาหาร  ที่ผ่านมาเราถูกสอนว่าไม่ให้เอาศอกวางบนโต๊ะอาหาร  และถ้าไม่ใช้มือก็ให้วางไว้บนหน้าตัก  แต่ที่ฝรั่งเศส แม้จะไม่วางศอกบนโต๊ะ  แต่ต้องวางมือไว้บนโต๊ะให้เห็นกันจะจะ  ไม่วางไว้บนหน้าตัก 

Picture
มารยาทบนโต๊ะอาหารของคนฝรั่งเศส

ข้อปฎิบัติบางอย่างและมารยาทบนโต๊ะอาหารฝรั่งเศส ที่ได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน
       1 ถ้าเป็นแขกรับเชิญ ควรมีของขวัญเล็กๆน้อยๆติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าบ้าน ที่นิยมกันก็จะเป็นช่อดอกไม้ , ไวน์ เป็นต้น  และถ้าบ้านไหนมีเด็กๆอาจจะมีขนมหรือช็อกโกแลตสำหรับเด็กด้วย
       2 หากเราได้รับของขวัญเนื่องในวาระต่างๆ ต้องเปิดต่อหน้าผู้ให้
       3 ผ้าเช็ดผ้าวางไว้บนตัก เวลาเช็ดปากควรใช้ด้านในจะได้ไม่เห็นรอยเปื้อน หลังจากทานเสร็จแล้วไม่ควรพับผ้า ให้วางไว้อย่างเรียบร้อยบนโต๊ะนั่น
       4 ไม่ควรเล่นกับอุปกรณ์ทุกอย่างบนโต๊ะอาหาร รวมทั้งการอ่านหนังสือต่างๆ
       5 มือต้องอยู่บนโต๊ะอาหารตลอดเวลา เวลาทานอาหารไม่กางข้อศอก
       6 เวลาทานซุป ไม่ควรเป่าและอย่าให้มีเสียงดัง
       7 ทานสลัดห้ามตัด ควรใช้ส้อมม้วนๆเอา
       8 ขนมปังให้หยิบมาไว้ข้างจาน เวลาทานใช้มือบิเป็นคำเล็กๆทีละคำ
       9 ไม่ควรพูดขณะมีอาหารเต็มปาก
      10 ถ้าเป็นเด็กๆจะลุกจากโต๊ะควรขออนุญาตผู้ใหญ่ก่อน
      11 เราทานอาหารได้ก็ต่อเมื่อแม่บ้านเสิร์ฟอาหารเรียบร้อยแล้ว (แม่บ้านในที่นี้หมายถึงใครก็ได้ในบ้านเจ้าภาพ)
      12 ถ้าเราเป็นเจ้าภาพ ต้องเสิร์ฟแขกก่อน เริ่มต้นจากมาดามก่อน
      13 อย่าก้มหน้าก้มตาทานอย่างเดียว คุยกับคนอื่นบ้าง(คนฝรั่งเศสช่างพูดค่ะ หากเราไม่พูดอะไรเลย เขาไม่ได้บอกว่าเราเรียบร้อยนะคะ แต่จะกลายเป็นว่าเสียมารยาทไป) จะต่างจากไทยคือไม่คุยกันบนโต๊ะอาหาร
      14 เวลาจามควรปิดปากและเอ่ยคำขอโทษ แต่มีข้อสังเกต คนฝรั่งเศสสามารถสั่งขี้มูกบนโต๊ะอาหารเฉยเลย ข้อนี้บ้านเรารับไม่ได้ค่ะ ถือว่าเป็นการเสียมาทอย่างแรง ดูไม่งาม
      15 ถ้าเราคุยกับคนข้างซ้ายอย่าหันหลังให้คนข้างขวา ไม่สุภาพค่ะ
      16 ถ้าเราไม่ชอบอาหารบางอย่างไม่ควรพูดตรงๆเลี่ยงไปชมอาหารจานอื่นๆแทน
      17 แขกรับเชิญ ไม่ต้องช่วยเก็บโต๊ะอาหารนะคะ นอกจากว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือญาติสนิทของเราเอง
      18 มีข้อสังเกต คือ ตามร้านอาหารใหญ่ๆหรือแม้แต่ในโรงแรมใช้ขนมปังเช็ดจานกัน เพราะทานอาหารนอกบ้านมันแพง คนฝรั่งเศสบอกว่าต้องกินให้เกลี้ยง ไม่ต้องให้เหลืออะไรเลยในจาน
      19 ไม่ควรทานเร็วเกินไป
      20 ไม่ควรลุกจากโต๊ะจนกว่าทุกคนจะทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว


Picture

ลำัดับอาหาร

รูปแบบของอาหาร ได้มีการแบ่งรูปแบบอาหารออกเป็นลำดับชั้น คือ
1. Haute Cuisine อาหารที่ปรุงอย่างหรูหราสำหรับคนร่ำรวยใช้เวลาในการเตรียมนาน และเมื่อเสิร์ฟก็ต้องตกแต่งอย่างสวยงาม
2. Cuisine Bougeoise อาหารที่ทำกินกันเองในบ้าน แต่ใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพ
3. Nouvelle Cuisine อาหารแนวใหม่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติแบบดูแลสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลดน้ำหนัก
4. Cuisine des Province อาหารพื้นบ้านชนบทใช้เนื้อสัตว์และผักนานาชนิด โดยไม่แปรรูปให้วิจิตรพิสดาร
Picture
การสั่งอาหารในภัตตาคารหรูจะเรียงลำดับดังนี้
1. Aperitif (เหล้า หรือ เครื่องดื่มสำหรับจิบเรียกน้ำย่อย)
2. Entree และ/หรือ ออร์เดิร์ฟ (อาหารจานแรก อาจมีซุปต่ออีกคอร์สก็ได้)
3. Plat Pricipal (อาหารจากหลัก)
4. Salade (สลัดเสิร์ฟเคียงกับอาหารจานหลัก)
5. Fromage (เนยแข็งชนิดต่างๆ วางบนถาดไม้)
6. Dessert (ของหวาน)
7. Fruit (ผลไม้)
8. Cafe หรือ The (กาแฟ หรือ ชา)
9. Degestif (เหล้าหลังอาหาร)



Asean

สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพแก้ไข

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[12]
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม
การขยายตัว
ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์[14] และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังบรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว[15]
ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[16] ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[17] ส่วนกัมพูชาประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว[17][18]
ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[19] โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวม[20][21] แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา[20][22] แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้
ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[23]
นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียนยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค[24]
หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษBali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา[25]
ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[26] ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน[27] นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเองฌูแซ รามุช-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์-เลสเต ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์[28][29]
ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา[30] ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558[31][32] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[33][34] นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[35][36]
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563[37][38] ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์-เลสเตวางแผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์-เลสเตอย่างอบอุ่น

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร ทั้งแบบสากลและแบบไทยแท้ ๆ มีอะไรที่เราควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม มาดูกันเลย ...